เมนู

10. อาสวสูตร



เจริญสติปัฏฐานเพื่อละ อาสวะ 3


[837] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ 3 ประการนี้ 3 ประการ
เป็นไฉน คือ กามาสวะ 1 ภวาสวะ 1 อวิชชาสวะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะ 3 ประการนี้แล.
[838] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน 4
เพื่อละอาสวะ 3 ประการนี้ สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน 4
เหล่านี้ เพื่อละอาสวะ 3 ประการนี้แล.
จบอาสวสูตรที่ 10
จบอมตวรรคที่ 5

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อมตสูตร 2. สมุทยสูตร 3. มรรคสูตร 4.สติสูตร 5.
กุสลราสิสูตร 6. ปาฏิโมกขสูตร 7. ทุจริตสูตร 8. มิตตสูตร 9.
เวทนาสูตร 10. อาสวสูตร

คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตที่ 6



ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน 4


[839] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคา
ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุ
เมื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 ก็เป็นผู้น้อมไปสู่
นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[840] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 เมื่อ
กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 อย่างไร จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่.... ย่อม
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน 4 อย่างนี้แล จึง
จะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ
[841] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 เหล่านี้
สังโยชน์ 5 เป็นไฉน คือ รูปราคะ 1 อรูปราคะ 1 มานะ 1 อุทธัจจะ 1
อวิชชา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 เหล่านี้แล.
[842] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน 4
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วน
เบื้องสูง 5 เหล่านี้แล สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ